Azure Portal : ปรับปรุงการสร้าง Virtual Machine สะดวกมากขึ้น

0
1146

วันหยุดยาวๆ แบบนี้ผมเลยถือโอกาสกลับมาทักทายสมาชิกชาวชาว Mvpskill ทุกท่านกันสักหน่อยนะครับ ไหนๆ ก็วันหยุดกันแล้วก็เอาเนื้อหาเบาๆ มาพูดถึงกันก่อนก็แล้วกันครับ

วันนี้ผมจะขอพูดถึงหน้าตาของเจ้า Azure Portal ในส่วนของการสร้าง Virtual Machine ซึงทาง Microsoft ได้ปรับปรุงให้ใช้ง่ายขึ้นครับ ซึ่งถ้าใครที่เคยเข้าไปใช้แรกๆ อาจจะงงๆ หน่อย แต่พอใช้ไปสักพักแล้วก็จะเริ่มคุ้นชิน และรู้สึกว่ามันใช้ง่ายกว่าเดิมพอสมควรเลยทีเดียว มีอะไรกันบ้าง เดี๋ยวจะพาไปดูกันครับ

หน้าตาของ Azure Portal ในส่วนของการสร้าง Virtual Machine นั้นจะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ขั้นตอน 

1. ข้อมูลทั่วไปของ Virtual Machine (Basics)
ในส่วนนี้จะเป็นหน้าจอเพื่อใช้ในการกรอกข้อมูลทั่วไปของ Virtual Machine คือ

  • Resource Group  ในส่วนนี้จะใช้กำหนด Resource Group ที่จะสร้าง Virtual Machine
  • Virtual Machine Name กำหนดชื่อของ Virtual Machine ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับชื่อของคนอื่นทั่วโลก
  • Region  กำหนด Region ของ Azure ซึ่งโดยทั่วไปในประเทศไทย จะกำหนดเป็น Southeast Asia
  • Availability Options กำหนดตัวเลือกเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Availability ของ Virtual Machine ซึ่งจะมีให้เลือกเป็น “No redundancy infrastructure required”, “Availability Zone” และ “Availability Set”
  • Image  เลือก Image ของระบบปฏิบัติการว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด

  • Size  เลือกขนาดของ Virtual Machine
  • Administrative Account  กำหนดข้อมูลของ account ที่จะใช้ในการบริหารจัดการ Virtual Machine นั้น ซึ่งประกอบไปด้วย username (ห้ามใช้ administrator), password และ confirm password ซึ่ง password จะต้องเป็น password แบบยากด้วยนะครับ
  • Inbound Port rules  กำหนด port ในการเข้าถึง Virtual Machine โดยทั่วไป Windows ก็จะต้องเปิด port RDP (1389) และ Linux เปิด port SSH (22) เพื่อเข้าถึง Virtual Machine จากภายนอก อันนี้อย่าลืมทำนะครับ

  • Save Money ตัวเลือกนี้ใช้สำหรับองค์กรที่มีการใช้งานในรูปแบบ Bring Your Own License (BYOL) ซึ่งจะนำเอา License ของ Windows Server 2016 Datacenter ที่ซื้อไว้ในองค์กรมาใช้เป็นส่วนลดราคาของ Virtual Machine ที่เป็น Windows Server 2016 Datacenter ซึ่งจะสามารถใช้เป็นส่วนลดได้สูงสุดถึง 49% เลยครับ

2. ข้อมูลเกี่ยวกับ Disks (Disks) ในส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีการปรับปรุงให้ใช้ง่ายขึ้นครับ เพราะมีการให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับ Disk ในตอนสร้างไปด้วยตรงๆ ทำให้ผู้ใช้ไม่ลืมที่จะ Attach Data Disk ลงไปใน virtual Machine เลย ทำให้เกิดประสิทธิภาพกับ Virtual Machine สูงขึ้น


ซึ่งจากหน้าจอในส่วนนี้จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะทำการสร้าง Managed Disk เพื่อ Attached เข้าไปกับ Virtual Machine ได้โดยตรง โดยคลิกที่ปุ่ม “Create and Attached a new Disk” จากนั้นจะปรากฎตัวเลือกเกี่ยวกับ Disk และสามารถเลือกขนาดของ Disk ได้ตามต้องการครับ เลือกตามที่พอดีนะครับ อย่าเผื่อเยอะ เดี๋ยวจะเสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็นครับ

3. ข้อมูลเกี่ยวกับ Virtual Network (Networks)

    ส่วนนี้ก็เป็นอีกส่วนที่ดีขึ้นครับ เพราะก่อนหน้านี้ Azure จะสร้าง Virtual Network ให้เลยโดยใช้ค่า Default ครับ แต่เมื่อมีหน้านี้เข้ามาทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะสร้าง Virtual Network ขึ้นมาได้เอง โดยไม่ต้องใช้ค่า Default ของ Azure ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นนั่นเอง

4. การบริหารจัดการ (Management)  ส่วนนี้นับว่าแจ่มมากๆ เลยทีเดียวครับ เพราะมีการเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้อย่างสะดวก สบาย ไม่ต้องไปเลือกจากที่อื่นๆ เลย ส่วนที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ

  • Boot Diagnostics เป็นส่วนที่จะใช้ในการบันทึกปัญหาในการ Boot เครื่องของ Virtual Machine  เพื่อให้สามารถตรวจสอบสาเหตุได้ (เพราะปกติเราจะไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของ Virtual Machine ขณะ Boot ได้ ต้องรอให้เข้า Windows หรือ Linux เสียก่อน)
  • Auto-Shutdown  ส่วนนี้จะใช้ในการตั้งเวลาปิด/เปิด การทำงาน เหมาะกับเครื่องที่ใช้ในการทดสอบระบบ คือถ้าไม่ใช้ก็ปิด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
  • Backup  ส่วนนี้จะให้เลือกตัวเลือกในการ Backup ให้เลย เรียกว่า config Backup Vault ให้ด้วยเลยทีเดียวครับ

5. Guest Config  ส่วนนี้จะให้เลือกตัวเลือกเสริม หรือว่า Add-ins ที่จะติดตั้งลงไปใน Virtual Machine ของเรานั่นเองครับ มีให้เลือกหลายหลายเลยทีเดียวครับ เลือกได้ตามความต้องการครับ

6. Tags  ส่วนนี้ก็ดีครับ ใช้ในการกำหนด tag หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือติดคำอธิบายสั้นๆ ของ Virtual Machine ของเราเอาไว้ เพื่อให้สามารถค้นหาได้โดยสะดวกนั่นเองครับ ตรงนี้ท่านไหนที่มี Resource ใน Azure เยอะๆ ก็จะช่วยได้มากครับ

7. Review + Create ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่างๆ ที่เลือกไว้ตั้งแต่ 1-6 และทำการสร้าง Virtual Machine ให้ครับ ซึ่งหากผู้ใช้ง่ายไม่ต้องการใส่ข้อมูลเพิ่มเติมในหน้าที่ 2-6 ก็สามารถข้ามมาที่ Review + create นี้ได้เลย

เอาหล่ะครับ Post นี้ผมพาไปชมความแหร่มของ Azure Portal ในการสร้าง Virtual Machine กันมาแล้ว เดี๋ยว Post หน้าจะพาไปดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการลดค่าใช้จ่ายของ Azure Virtual Machine กันครับ